ประวัติของโรงเรียน
        โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ มีชื่อเดิมว่าโรงเรียนอิสลามวิทยามูลนิธิหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันดีในนาม “ซือกอเลาะยีรงบาและตีนอ” ซึ่งหมายถึง “โรงเรียนของนายหะยีฮารน สุหลง ฝั่งสตรี” ที่ประกอบด้วยนักเรียนหญิงล้วนทั้งโรงเรียนและมีนายหะยีฮารน สุหลง เป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนนั่นเอง
               วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2507 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยอิสลามวิทยามูลนิธิ ตั้งอยู่เลขที่ 867 ถนนศรีโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประเภทเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยมีนายสุรินทร์ ศาสนภาพเป็นครูใหญ่คนแรกจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกฎกระทรวงข้อ 21 (ข) พ.ศ.2508 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนวิชาศาสนาควบคู่ไปกับวิชาสามัญโดยได้รับความร่วมมือจากท่านศึกษาธิการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยมูลนิธิและกลุ่มสามัญกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นครั้งแรก จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ในปีพ.ศ. 2510

พ.ศ.2510 ได้ขยายชั้นเรียนขึ้นตามความเหมาะสมจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

พ.ศ.2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนจาก 3 ภาคเรียนต่อปีมาเป็น 2 ภาคเรียนต่อปี และได้เตรียมแปลงครูใหญ่จากนายสุรินทร์ศาสนภาพ มาเป็นนายอัสนี  หะยีเจ๊ะมะ

1 มีนาคม 2537 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงประเภทโรงเรียนจากโรงเรียนตามมาตรา 15 (2) มาเป็นโรงเรียนตามมาตรา 15 (1) แห่งพระราชพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพุทธศักราช โดยมี ดร.หะยีฮารน สุหลง ประธานกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาตและผู้จัดการโรงเรียน

พ.ศ.2539 โรงเรียนได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวตั้งอยู่เลขที่ 69 ซอยบราโอ ถนนโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และในปีเดียวกันได้ขยายหลักสูตรวิชาสามัญ โดยทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นปีแรก

พ.ศ.2543 ได้เปลี่ยนแปลงอักษรย่อของโรงเรียนจากเดิม อ.ว.ม. เป็น ส.อ.ม.

พ.ศ.2545 โรงเรียนได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนสำหรับปฏิบัติศาสนกิจและสถานที่อบรมจริยธรรมและเปลี่ยนเป็นอาคารเรียนถาวร ค.ส.ล. 2 ชั้น

พ.ศ.2546 เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานศักราช 2544 ช่วงชั้นที่ 3-4 เฉพาะ ม. 1 และ ม. 4 ปีการศึกษา 2546

26 ธันวาคม 2546 โรงเรียนในเครือข่ายอิสลามวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลาได้สูญเสียท่านดร.หะยีฮารน สุหลง ผู้รับใบอนุญาตและผู้ก่อตั้งโรงเรียนไปอย่างสุดอาลัย และได้มีการแต่งตั้งในนายสะแปอิง บาซอ รองประธานกรรมการอิสลามมูลนิธิคนที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตในเวลาต่อมา

พ.ศ.2548 ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิประชุมมีมติเห็นชอบให้นายรอซี เบ็ญสุหลง รองประธานกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิคนที่ 2  เป็นผู้รับใบอนุญาตของโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ และโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  จนถึงปัจจุบัน

ตุลาคมพ.ศ.2548 ผ่านการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญและนักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนเอกชนสอน
ศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2548 เข้าเฝ้าพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักทักษิณ
ราชนิเวช จังหวัดนราธิวาส

ตุลาคม 2549 ที่ผ่านมาการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญและนักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนเอกชนสอน
ศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2549 เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร ณ ตำหนักทักษิณราชนเวชจังหวัดนราธิวาส

พ.ศ. 2550 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่จบหลักสูตรช่วงชั้นที่ 4 ในการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจากการจัดลำดับสถิตสูงสุดของ
โรงเรียนต่างๆ ทุกสังกัดทั่วทั้ง 14 จังหวัด ได้ 10 ลำดับแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ลำดับที่ 10 ของโรงเรียน
ที่มีสถิติจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าได้เป็นจำนวนมากอีกทั้งทางโรงเรียนก็ได้ผ่านการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญ
ดีเด่นรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ประจำปีการศึกษา 2550 เป็นปีที่ 3

พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจากการประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  รอบ 2 ในระดับดี โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ มีชื่อเดิมว่าโรงเรียนอิสลามวิทยามูลนิธิหรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันดีในนาม “ซือกอเลาะยีรงบาและตีนอ” ซึ่งหมายถึง “โรงเรียนของนายหะยีฮารน สุหลง ฝั่งสตรี” ที่ประกอบด้วยนักเรียนหญิงล้วนทั้ง
โรงเรียนและมีนายหะยีฮารน สุหลง เป็นเจ้าของและผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนนั่นเอง

17 กุมภาพันธ์ 2507 โรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ เริ่มก่อตั้งขึ้นโดยอิสลามวิทยามูลนิธิ ตั้งอยู่เลขที่ 867 ถนนศรีโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนประเภทเอกชนสอนศาสนาอิสลาม โดยมีนายสุรินทร์ ศาสนภาพเป็นครูใหญ่คนแรกจัดการเรียนการสอน
ตามหลักสูตรกฎกระทรวงข้อ 21 (ข)

พ.ศ. 2508 โรงเรียนได้เปิดการเรียนการสอนวิชาศาสนาควบคู่ไปกับวิชาสามัญโดยได้รับความร่วมมือจากท่านศึกษาธิการจังหวัดยะลา พร้อมด้วยมูลนิธิและกลุ่มสามัญกระทรวงศึกษาธิการ โดยเปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นครั้งแรก จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ในปีพ.ศ. 2510

พ.ศ. 2510 ได้ขยายชั้นเรียนขึ้นตามความเหมาะสมจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

พ.ศ. 2518 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนจาก 3 ภาคเรียนต่อปีมาเป็น 2 ภาคเรียนต่อปี และได้เตรียมแปลงครูใหญ่จากนายสุรินทร์ศาสนภาพ มาเป็นนายอัสนี  หะยีเจ๊ะมะ

1 มีนาคม 2537 โรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงประเภทโรงเรียนจากโรงเรียนตามมาตรา 15 (2) มาเป็นโรงเรียนตามมาตรา 15 (1) แห่งพระราชพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพุทธศักราช โดยมี ดร.หะยีฮารน สุหลง ประธานกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิเป็นผู้รับใบอนุญาต
และผู้จัดการโรงเรียน

พ.ศ. 2539 โรงเรียนได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่เป็นอาคารไม้ชั้นเดียวตั้งอยู่เลขที่ 69 ซอยบราโอ ถนนโรรส ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และในปีเดียวกันได้ขยายหลักสูตรวิชาสามัญ โดยทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 เป็นปีแรกปีพ.ศ. 2543 ได้เปลี่ยนแปลงอักษรย่อของโรงเรียนจากเดิม อ.ว.ม. เป็น ส.อ.ม.

พ.ศ.2545 โรงเรียนได้ทำการก่อสร้างอาคารเรียนสำหรับปฏิบัติศาสนกิจและสถานที่อบรมจริยธรรมและเปลี่ยนเป็นอาคารเรียนถาวร ค.ส.ล. 2 ชั้น

พ.ศ. 2546 เริ่มใช้หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานศักราช 2544 ช่วงชั้นที่ 3-4 เฉพาะ ม. 1 และ ม. 4 ปีการศึกษา 2546

26 ธันวาคม 2546 โรงเรียนในเครือข่ายอิสลามวิทยามูลนิธิจังหวัดยะลาได้สูญเสียท่านดร.หะยีฮารน สุหลง ผู้รับใบอนุญาตและผู้ก่อตั้งโรงเรียนไปอย่างสุดอาลัย และได้มีการแต่งตั้งในนายสะแปอิง บาซอ รองประธานกรรมการอิสลามมูลนิธิคนที่ 1 เป็นผู้รับใบอนุญาตในเวลาต่อมา

พ.ศ.2548 ที่ประชุมคณะกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิประชุมมีมติเห็นชอบให้นายรอซี เบ็ญสุหลง รองประธานกรรมการอิสลามวิทยามูลนิธิคนที่ 2  เป็นผู้รับใบอนุญาตของโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ และโรงเรียนสตรีอิสลามวิทยามูลนิธิ  จนถึงปัจจุบัน

ตุลาคมพ.ศ.2548 ผ่านการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญและนักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน ประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2548 เข้าเฝ้าพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ณ ตำหนักทักษิณราชนิเวช จังหวัดนราธิวาส

พ.ศ. 2549 เขาใหญ่อีกแน่กั้นแนวรั้วรอบโรงเรียนบริเวณโรงเรียนพร้อมเริ่มก่อสร้างที่พักสำหรับนักเรียนประจำเป็นเดือนๆอื่นเป้าหมายจำนวน 12 หลัง 
ตุลาคม 2549 ที่ผ่านมาการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญและนักเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2549 เข้าเฝ้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฏราชกุมาร ณ ตำหนักทักษิณราชนเวชจังหวัดนราธิวาส

พ.ศ. 2550 ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่จบหลักสูตรช่วงชั้นที่ 4 ในการสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาจากการจัดลำดับสถิติสูงสุดของ
โรงเรียนต่างๆ ทุกสังกัดทั่วทั้ง 14 จังหวัด ได้ 10 ลำดับแรกของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร ได้ลำดับที่ 10 ของโรงเรียนที่มีสถิติจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าได้เป็นจำนวนมาก  อีกทั้งทางโรงเรียนก็ได้ผ่านการพิจารณาประเมินคัดเลือกครูสามัญดีเด่น รางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2550 เป็นปีที่ 3

พ.ศ. 2553 โรงเรียนได้ผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานการศึกษาจากการประเมินคุณภาพภายนอก(สมศ.) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานรอบ 2 ในระดับดี